รักษาโรคความดันโลหิตสูง
รักษาโรคความดันโลหิตสูง แบบแพทย์แผนจีน รักษายังไง?
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เกี่ยวกับความดันในหลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น ลักษณะทางคลินิก ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ตาลาย มีเสียงในหู เป็นต้น ดังนั้น จึงจัดโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในกลุ่มอาการ “วิงเวียน” หรือ “ปวดศีรษะ” ของการแพทย์แผนจีน
โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ สมองและไต จนในที่สุดเกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะเหล่านั้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
หลักการรักษา
จากสาเหตุและกลไกของโรค จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาการพร่องและกลุ่มอาการแกร่ง
กลุ่มอาการพร่อง : ทะเลแห่งไขกระดูก (SuiHai) พร่อง หรือภาวะชี่และเลือดพร่อง ทวารสมองขาดการบำรุง แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการ ได้แก่ กลุ่มอาการเลือดและชี่พร่อง กลุ่มอาการสารจำเป็นของไตพร่อง และกลุ่มอาการหยางไตพร่อง
กลุ่มอาการแกร่ง : ปัจจัยก่อโรค ได้แก่ ลม ไฟ และเสมหะ รบกวนทวารสมอง
แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการ ได้แก่ กลุ่มอาการหยางตับเกิน กลุ่มอาการเสมหะและความชื้นอุดกั้นภายใน และกลุ่มอาการเลือดคั่งปิดกั้นทวารสมอง
การรักษาความดันโลหิตสูงทางการแพทย์แผนจีน ไม่เพียงแต่ใช้ยาเพื่อลดความดันโลหิตลงเท่านั้น แต่ยังเน้นที่ “การวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการโรค” โดยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมักมีอาการวิงเวียน เป็นต้น ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่ จึงเป็นไปในแนวทางการรักษากลุ่มอาการวิงเวียนตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน
กลไกการเกิดโรค มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัจจัยก่อโรค คือ ลม ไฟ และความชื้น (เสมหะ) เป็นอย่างมาก
การรักษาตามการวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการ
1. กลุ่มอาการหยางตับเกิน
อาการและอาการแสดง : วิงเวียน มีเสียงในหู ปวดศีรษะและตาแบบบวมพอง ปากขม นอนไม่หลับ ฝันมาก อาการจะเพิ่มขึ้นหากตรากตรำหรือผูกโกรธ ในรายที่รุนแรงอาจหมดสติ หน้าแดง หงุดหงิดโกรธง่าย มือเท้าสั่น ลิ้นแดง ฝ้าเหลือง ชีพจรตึงและเร็ว (XiánShùMài)
2. กลุ่มอาการชี่และเลือดพร่อง
อาการและอาการแสดง : วิงเวียน อาการเพิ่มขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว ตรากตรำหรือเหนื่อยล้า หน้าซีดขาว ไม่มีชีวิตชีวาอ่อนเพลีย เปลี้ย ไม่อยากพูด ริมฝีปากและเล็บไม่สดใส ผมไม่เงางาม ใจสั่น นอนไม่หลับ รับประทานอาหารได้น้อยแน่นท้อง ลิ้นซีด ฝ้าขาวบาง ชีพจรเล็กและจมอ่อน (XiRuòMài)
3. กลุ่มอาการสารจำเป็นของไตไม่เพียงพอ
อาการและอาการแสดง : มีอาการวิงเวียนเรื้อรัง เซื่องซึม เมื่อยเอวและเข่าอ่อน นอนไม่หลับ ฝันมาก หลงลืมความจำเสื่อม ตาแห้ง สายตาเสื่อมลง หรือมีอาการหลั่งอสุจิโดยไม่รู้ตัว มีเสียงในหูฟันโยก หรือมีอาการแก้มแดงคอแห้ง มือเท้าและหน้าอกร้อน (ร้อนทั้งห้า) ลิ้นแดง ฝ้าน้อย ชีพจรเล็กและเร็ว (XìShùMài)
4. กลุ่มอาการหยางไตพร่อง
อาการและอาการแสดง : นอกเหนือจากกลุ่มอาการสารจำเป็นในไตไม่เพียงพอแล้ว อาจจะพบอาการร่วมอื่น ๆ เช่น หน้าซีด ร่างกายและมือเท้าเย็น ปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน เป็นต้น ลิ้นนุ่มสีชีด ฝ้าขาว ชีพจรจม เล็ก อ่อน ช้า (ChenXiRuoChiMai)
5. กลุ่มอาการเสมหะชื้นอุดกั้นภายใน
อาการและอาการแสดง : วิงเวียน รู้สึกศีรษะหนัก ๆ มึนงง เป็นอาการสำคัญ หรือมีอาการร่วมเวียนศีรษะรู้สึกสิ่งรอบตัวหมุน แน่นหน้าอก คลื่นไส้มักบ้วนน้ำลาย รู้สึกเหมือนตัวหนักไม่สดชื่น รับประทานอาหารได้น้อย นอนมาก เป็นต้น ลิ้นมีฝ้าขาวเหนียว ชีพจรลอยแผ่วและลื่น (RuHuáMài)
6. กลุ่มอาการเลือดคั่งปิดกั้นทวาร
อาการและอาการแสดง : วิงเวียน ปวดศีรษะเหมือนเข็มแทง ปวดเฉพาะที่ เป็นอาการสำคัญ มักมีอาการหลงลืม นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก ใจสั่น มือเท้าชาโดยเฉพาะในเวลากลางคืน เป็นต้น ลิ้นคล้ำ มีจุดจ้ำเลือด ชีพจรฝืด (SèMài) หรือชีพจรเล็กและฝืด (XiSeMai)
การรักษาด้วยการฝังเข็ม
การฝังเข็มตามระบบเส้นลมปราณ
1. กลุ่มอาการแกร่ง
หลักการรักษา : สงบตับ สลายเสมหะ
2. กลุ่มอาการพร่อง
หลักการรักษา : บำรุงชี่ บำรุงเลือด ระงับอาการวิงเวียน
การฝังเข็มที่ศีรษะ
การฝังเข็มหู
เลือกจุดหลัก : ต่อมหมวกไต subcortex (PiZhiXia) และ หน้าผาก (额)
– ผู้ที่มีกลุ่มอาการหยางตับแกร่งขึ้นสู่ส่วนบน เพิ่มจุด ตับ ถุงน้ำดี
– ผู้ที่มีกลุ่มอาการเสมหะความชื้นอุดกั้นจงเจียว เพิ่มจุด ม้าม
– ผู้ที่มีกลุ่มอาการเลือดและชี่พร่อง เพิ่มจุด ม้าม กระเพาะอาหาร
– ผู้ที่มีสารจำเป็นของไตพร่อง เพิ่มจุด ไต สมอง
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น
– การฝึกชี่กง
– การแช่เท้าด้วยยาจีน
– การประยุกต์ใช้ยาจีนแบบภายนอก
– การฝังไหมละลาย
– การรมยา
รักษาโรคความดันโลหิตสูง
อัตราค่าหัตถการ 1 ครั้ง ระยะเวลา 30 นาที
1 ครั้ง 650 บาท
5 ครั้ง 2,990 บาท
10 ครั้ง 5,490 บาท